วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 ระบบสารสนเทศโรงเรียนบ้านนาพา

กิจกรรมที่ 4
4.1  ศึกษาบริบทสถานศึกษา จุดเด่น จุดด้อย โอกาสที่จะพัฒนา
โรงเรียนบ้านนาพา
โรงเรียนบ้านนาพา  ตั้งอยู่หมู่ที่  5   ตำบลถ้ำพรรณรา อำเภอถ้ำพรรณรา) จังหวัดนครศรีธรรมราช   เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  เป็นโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา  มีอาคารเรียน 4   หลัง  มีสนามฟุตบอล   มีสนามบาสเกตบอล  2  สนาม  มีบ้านพักครู  1หลัง  มีครู 16  คน (รวมผู้บริหาร)   พนักงานบริการ  1  คน   เจ้าหน้าที่ธุรการ  1  คน
พื้นที่
                โรงเรียนมีเนื้อที่  21  ไร่  2  งาน  35  ตารางวา   เป็นที่ราชพัสดุที่   .. 4252
อาคารเรียน 
มีอาคารเรียน  4  หลัง   19  ห้องเรียน   คือ
·       หลังที่แบบ  .1                                 จำนวน  4  ห้องเรียน
·       หลังที่แบบ  สปช. 102 / 26                จำนวน  3  ห้องเรียน
·       หลังที่แบบ  สปช. 103 / 26                จำนวน  4  ห้องเรียน
·       หลังที่แบบ  สปช. 105 / 29                จำนวน  8  ห้องเรียน
อาคารประกอบ
·       อาคารอเนกประสงค์  สปช. 203 / 26     จำนวน  1  หลัง
·       บ้านพักครู                     สปช. 301 / 26     จำนวน  1  หลัง    ขณะนี้ชำรุดไม่มีครูอาศัย
·       โรงเรียนอาหาร                                           จำนวน  1  หลัง
·       ห้องน้ำห้องส้วม          สปช. 601 / 26     จำนวน  4  หลัง  14  ที่นั่ง
·       สนามบาสเกตบอล      จำนวน  2  สนาม
ปรัญญา
·       ปญฺญา   วธ     เนนเสยฺโย        ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
คำขวัญของโรงเรียน
·       รักการเรียน     เพียรทำดี     มีวินัย    ใส่ใจสุขภาพ
ปัจจัยภายนอก
จุดเด่น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม  โรงเรียนบ้านนาพา  มีเขตบริการของโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดต่อกันคือ    หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่  8  พื้นที่เป็นที่ราบ  การคมนาคมสะดวกเนื่องจากมีถนนลาดยางสายทานพอ-  ถ้ำพรรณรา  ซึ่งเป็นถนนสายหลักผ่านหน้าโรงเรียน  ระหว่างหมู่บ้านการคมนาคมก็สะดวกในการสัญจรเช่นกัน   สภาพคนในชุมชนจะเกี่ยวพันในระบบเครือญาติเป็นส่วนมาก  มีไม่กี่ครอบครัวที่ย้ายมาจากที่อื่นเพื่อรับจ้างทำงานแล้วนำลูกหลานมาเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาพา  ประชาชน    ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยจบระดับประถมศึกษา เนื่องจากเรียนเพื่อมีความรู้แล้วมาประกอบอาชีพสานต่อคนในครอบครัวคือ อาชีพทำสวนยางพารา   ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นคือ ประเพณีวันสารทเดือนสิบจะมีกิจกรรมที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ  ชุมชนจะอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี   สำหรับกิจกรรมอื่นที่ชุมชนแสดงออกถึงความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น  งานศพ  งานทำบุญบ้าน  งานบวช  หรือแม้กระทั่งการดำนา  การเก็บเกี่ยวข้าว
ด้านเทคโนโลยี ทุกครัวเรือนจะมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสาร  ส่วนการศึกษาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตจะมีให้บริการไม่กี่แห่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 4 กิโลเมตร
ด้านเศรษฐกิจ  เนื่องจากประชาชนประกอบอาชีพทำสวนยางพารา  ราคายางอยู่ในเกณฑ์ดี  จึงทำให้ฐานะทางการเงินแต่ละครอบครัวอยู่ในสภาพที่คล่องตัวในการใช้จ่าย  การกู้หนี้ยืมสินก็มีบ้างแต่เป็นหนี้ในระบบ  กู้เพื่อสร้างฐานะทางครอบครัว  
จุดด้อย
ปัญหาในชุมชนจะเป็นพฤติกรรมของเยาวชนเสพสิ่งเสพติด ดื่มเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์  และเล่นการพนัน  บางกรณีก็ใช้ชีวิตคู่ทั้งที่เป็นวัยไม่สมควรจึงไม่มีความพร้อมในการใช้ชีวิตร่วมกันจึงมีปัญหาหย่าร้าง  ลูกที่เกิดมาพอเข้าโรงเรียนก็เป็นเด็กมีปัญหา  ให้ทางโรงเรียนดูแลช่วยเหลือต่อไป
ปัจจัยภายใน
                จุดเด่น
การวางแผนงานมีความชัดเจน กระจายอำนาจในการบริหารให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม    มีการร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนด มีการนิเทศติดตามผล  ด้านการเงินได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเป็นเงินอุดหนุนทางการศึกษา  และองค์กรส่วนท้องถิ่นสนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียน  การบริหารการเงินมีความโปร่งใส  ประสิทธิภาพทางการเงินมีแผนปฏิบัติงานประจำปีเป็นการควบคุมกำกับ ในด้านบุคลากรพอดีเกณฑ์  ผลการประเมินด้านครูจากคณะกรรมการของสมศ. ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี  ผลการเรียนของนักเรียนเป็นที่น่าพอใจของผู้ปกครอง การจัดการเรียนการสอนฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงเน้นให้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม  รู้จักประเมินและปรับปรุงตนเอง มีห้องสมุดให้ค้นคว้าหาความรู้หลากหลายถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของโรงเรียน   มีการส่งเสริมให้นักเรียนแข่งขันทักษะทางวิชาการได้รับรางวัล  เกียรติบัตรเป็นที่ยอมรับของชุมชน      โรงเรียนมีวัสดุ  ครุภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมและบริการชุมชนด้านอาคารสถานที่      
จุดอ่อน
ด้านการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบวัสดุอุปกรณ์ไม่มีคุณภาพ ขาดบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะด้านหรือสาขาวิชาเอก  เช่น พลศึกษา สังคมศึกษา ปฐมวัย  และบุคลากรร้อยละ  80  ไม่มีความสามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาตนเอง  ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นแบบ IPSTAR   เข้าใช้งานไม่ค่อยได้  คำนวณการใช้งานอินเทอร์เน็ตในเวลา  1 เดือนสามารถใช้งานได้แค่  4  วัน เท่านั้น
โอกาสที่จะพัฒนา
พัฒนาเป็นโรงเรียนดีประจำตำบล
4.2       ศึกษาระบบข้อมูลสถานศึกษา

การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนบ้านนาพา
อำเภอถ้ำพรรณรา  จังหวัดนครศรีธรรมราช

จากการศึกษาระบบสารสนเทศของโรงเรียนบ้านนาพา  พบว่า
                1.มีการแต่งตั้งครูทำหน้าที่จัดระบบสารสนเทศ  และมีผู้ช่วยคือเจ้าหน้าที่ธุรการ
2. จัดสรรงบประมาณในการจัดทำระหว่าง 10,000-20,000 บาท
3. ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ  3  เครื่อง
4. ด้านสถานที่  โรงเรียนใช้ห้อง  1  ห้อง  เป็นห้องสารสนเทศ คือห้องพักครู  ในการจัดเก็บสารสนเทศ จะทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดต้นฉบับเก็บไว้ที่หัวหน้างาน/กลุ่มสาระ ชุดสำเนาเก็บไว้ที่ส่วนกลาง ที่กลุ่มบริหารงานทั่วไป คือ ห้องพักครู    ส่วนการปรับปรุงข้อมูลหัวหน้างาน แต่ละฝ่ายแต่ละงานได้จัดทำและปรับปรุงสารสนเทศของตนอย่างสม่ำเสมอ

การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานในโรงเรียนบ้านนาพา
               ข้อมูลสารสนเทศที่ได้มานั้นสามารถนำมาใช้วางแผนประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               
ขั้นตอนการบริหารการจัดการระบบสารสนเทศทางการศึกษาโรงเรียนบ้านนาพา

การบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา  แบ่งเป็นหมวดหมู่เหมือนโครงการสร้างการบริหาร  ดังนี้
1. การบริหารงานด้านวิชาการ
2. การบริหารงานด้านกิจการนักเรียน
3. การบริหารงานบริหารทั่วไป
4. การบริหารงานบุคคล
5. การบริหารงบประมาณ

สภาพการดำเนินงาน
                การบริหารงานทั่วไป
                มีการจัดเก็บข้อมูลอาคารสถานที่   บันทึกการขอใช้อาคารสถานที่  ทะเบียนการจัดเก็บหนังสือราชการ
การบริหารงานวิชาการ
ข้อมูลงานทะเบียน ข้อมูลงานวิชาการ จัดระบบสารสนเทศ มีการจัดทำข้อมูลครูในหมวดต่างๆข้อมูลผลการเรียน สื่อ/อุปกรณ์การสอน แหล่งเรียนรู้  ระเบียบสะสม ตารางสอน วัดผลประเมินผลการเรียน ความหลากหลายในวิธีและการใช้เครื่องมือประเมิน การวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียน  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน
การงานบริหารงบประมาณ
จัดเก็บข้อมูลเป็นบัญชีการรับจ่ายเงิน  ทะเบียนพัสดุ  ทะเบียนคุมสินทรัพย์  ทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ
การบริหารงานด้านกิจการนักเรียน
การจัดระบบข้อมูลนักเรียน มีการดำเนินการเป็นปัจจุบัน  โดยใช้โปรแกรม smis ในการจัดเก็บ
การบริหารงานบุคคล
การจัดระบบข้อมูลครู  ทั้งทะเบียนประวัติการศึกษา  ทะเบียนเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ทะเบียนการอบรม  เป็นต้น  โดยใช้โปรแกรม smis ในการจัดเก็บ

ปัญหาในการดำเนินงาน
1.ปัญหาที่พบส่วนมาก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
                2.ข้อมูลพึ้นฐานงานวิชาการส่วนใหญ่มีการจัดทำอยู่แล้ว ส่วนที่จัดทำน้อยคือการจัดทำคลังข้อสอบที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน
3.บุคลากรในโรงเรียนยังถือว่างานสารสนเทศเป็นภาระงานที่เสริมเข้ามาจึงไม่ให้ความสำคัญกับงานสารสนเทศเท่าที่ควร และมีการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศค่อนข้างน้อย
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
1.เขตพื้นที่ควรจัดทำแบบฟอร์มสารสนเทศพื้นฐานรูปแบบเดียวกัน
2.ผู้บริหารต้องชี้แจงให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบสารสนเทศและนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
3.บุคลากรที่จัดทำสารสนเทศควรเป็นผู้ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ
4.ผู้บริหารควรจัดงบประมาณ อุปกรณ์ สถานที่ในการจัดทำสารสนเทศเป็นสัดส่วน
5.ปัญหาจากการจัดระบบสารสนเทศควรนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านต่างๆตลอดจนป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

4.3  คิดระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการบริหารหรือจัดการเรียนการสอน
1. จัดทำบล็อกของโรงเรียน  ที่ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ของโรงเรียนที่สมบูรณ์  เช่น ประวัติโรงเรียน  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  บุคลากร  กิจกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียน  กิจกรรมนักเรียนเป็นต้น
2. ส่งเสริม สนับสนุน  ให้ความรู้ แก่คณะครูและนักเรียนในโรงเรียนฝึกสร้างบล็อกด้วยตนเองและการใช้บล็อก  รับ - ส่งงานผ่านทางบล็อก